ลักษณะ ๑
วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น
-------------------------
มาตรา ๑๗๐ ห้ามมิให้ฟ้อง พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่นนอกจากศาลชั้นต้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในภาคนี้ว่าด้วยคดีไม่มีข้อพิพาท คดีมโนสาเร่ คดีขาดนัด และคดีที่มอบให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด การฟ้อง การพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น นอกจากจะต้องบังคับตามบทบัญญัติทั่วไปแห่งภาค ๑ แล้ว ให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ด้วย
มาตรา ๑๗๑ คดีที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติว่าจะฟ้องยังศาลชั้นต้น หรือจะเสนอปัญหาต่อศาลชั้นต้นเพื่อชี้ขาดตัดสิน โดยทำเป็นคำร้องขอก็ได้นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลย และวิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำฟ้องมาใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขอและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าหากมี และบังคับแก่วิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำร้องขอด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทำเป็นคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น๑
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(๑) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ
(๒) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่
มาตรา ๑๗๔ ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ
(๑)๒ ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง
(๒) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว
มาตรา ๑๗๕ ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล
ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่
(๑) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน
(๒) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้อง เนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น
มาตรา ๑๗๖ การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
มาตรา ๑๗๗ เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน๓
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา ๕๗ (๓) โดยอนุโลม
มาตรา ๑๗๘๔ ถ้าจำเลยฟ้องแย้งรวมมาในคำให้การ ให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งคำให้การถึงโจทก์
บทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้ใช้บังคับแก่คำให้การแก้ฟ้องแย้งนี้โดยอนุโลม
มาตรา ๑๗๙ โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้
การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(๑) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ
(๒) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือ
(๓) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
มาตรา ๑๘๐๕ แก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
มาตรา ๑๘๑ เว้นแต่ในกรณีที่คำร้องนั้นอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว
(๑) ห้ามไม่ให้มีคำสั่งยอมรับการแก้ไข เว้นแต่จะได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้น
(๒) ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความได้แก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้อหาหรือข้อต่อสู้ใหม่ หรือข้ออ้าง หรือข้อเถียงใหม่ที่กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขนั้น
มาตรา ๑๘๒๖ เมื่อได้ยื่นคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้งถ้าหากมีแล้ว ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) จำเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ
(๒) คำให้การของจำเลยเป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น
(๓) คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ซึ่งศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการชี้สองสถาน
(๔) ศาลเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน
(๕) คดีมโนสาเร่ตามมาตรา ๑๘๙ หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากตามมาตรา ๑๙๖
(๖) คดีที่ศาลเห็นว่ามีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากหรือไม่จำเป็นที่จะต้องชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่ต้องมีการชี้สองสถาน ให้ศาลมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและกำหนดวันสืบพยาน ถ้าหากมี แล้วให้ส่งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทราบตามมาตรา ๑๘๔ เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดจะได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว
คู่ความอาจตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทโดยยื่นคำแถลงร่วมกันต่อศาลในกรณีเช่นว่านี้ ให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามนั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่าคำแถลงนั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำแถลงนั้น แล้วดำเนินการชี้สองสถานไปตามมาตรา ๑๘๓
มาตรา ๑๘๒ ทวิ๗ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๘๓๘ ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความ แล้วนำข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คำคู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท และกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้
ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบคำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ในขณะนั้น
คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้อง โดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๒๒๖
มาตรา ๑๘๓ ทวิ๙ ในกรณีที่คู่ความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว
คู่ความที่ไม่มาศาลนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้อง เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันชี้สองสถาน เพราะเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ หรือเป็นการคัดค้านในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘๓ ตรี๑๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๘๓ จัตวา๑๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๘๔๑๒ ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลกำหนดวันสืบพยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันสืบพยานส่งให้แก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน
มาตรา ๑๘๕ ในวันนัดสืบพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ศาลจะอ่านให้คู่ความฟังซึ่งคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมี หรือรายงานพิสดารแห่งการชี้สองสถาน แล้วแต่กรณี และคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม (ที่ได้ยื่นต่อศาลและส่งไปให้แก่คู่ความแล้วโดยชอบ) ก็ได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติสามมาตราต่อไปนี้ ให้ศาลสืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาทตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานหลักฐาน และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของคู่ความทั้งปวง
มาตรา ๑๘๖ เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แถลงการณ์ด้วยวาจาก่อน แล้วจึงให้จำเลยแถลงการณ์ด้วยวาจาทบทวน ข้อเถียง แสดงผลแห่งพยานหลักฐานในประเด็นที่พิพาท ต่อจากนี้ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แถลงตอบจำเลยได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ห้ามไม่ให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยวาจาอย่างใดอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ก่อนพิพากษาคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะได้แถลงการณ์ด้วยวาจาแล้วหรือไม่ คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำแถลงการณ์เป็นหนังสือต่อศาลก็ได้ แต่ต้องส่งสำเนานั้น ๆ ไปยังคู่ความอื่น ๆ
มาตรา ๑๘๗ เมื่อได้สืบพยานตามที่จำเป็นและคู่ความได้แถลงการณ์ ถ้าหากมี เสร็จแล้ว ให้ถือว่าการพิจารณาเป็นอันสิ้นสุด แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลอาจทำการพิจารณาต่อไปอีกได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา ๑๘๘ ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(๑) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
(๒) ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็น และวินิจฉัยชี้ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(๓) ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดยวิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะในสองกรณีต่อไปนี้
(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง
(๔) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท แต่ในคดีที่ยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้คำอนุญาตที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสียหรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ผู้ไร้ความสามารถนั้น ให้ถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความสามารถนั้นจะได้มาศาล และแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาตหรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น
๑ มาตรา ๑๗๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗
๒ มาตรา ๑๗๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗
๓ มาตรา ๑๗๗ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
๔ มาตรา ๑๗๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
๕ มาตรา ๑๘๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๖ มาตรา ๑๘๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๗ มาตรา ๑๘๒ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๘ มาตรา ๑๘๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๙ มาตรา ๑๘๓ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๐ มาตรา ๑๘๓ ตรี ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๑ มาตรา ๑๘๓ จัตวา ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๒ มาตรา ๑๘๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
หมวด ๑
วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่
-------------------------
มาตรา ๑๘๙๑ คดีมโนสาเร่ คือ
(๑)๒ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๒)๓ คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๑๙๐ จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้น ให้คำนวณดังนี้
(๑) จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้นให้คำนวณตามคำเรียกร้องของโจทก์ ส่วนดอกผลอันมิถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำฟ้องหรือค่าธรรมเนียมศาลซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์รวมอยู่ในคำเรียกร้อง ห้ามไม่ให้คำนวณรวมเข้าด้วย
(๒) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีข้อโต้แย้ง จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้น ให้ศาลกะประมาณตามที่เป็นอยู่ในเวลายื่นฟ้องคดี
(๓)๔ คดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่มีข้อหาหลายข้อ อันมีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้รวมจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน แต่ถ้าข้อหาเหล่านั้นจะต้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยหลายคน ถึงแม้ว่าถ้ารวมความรับผิดของจำเลยหลายคนนั้นเข้าด้วยกันแล้วจะไม่เป็นคดีมโนสาเร่ก็ตาม ให้ถือเอาจำนวนที่เรียกร้องเอาจากจำเลยคนหนึ่ง ๆ นั้น เป็นประมาณแก่การที่จะถือว่าคดีนั้นเป็นคดีมโนสาเร่หรือไม่
มาตรา ๑๙๐ ทวิ๕ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้
มาตรา ๑๙๐ ตรี๖ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นได้ เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา ๑๙๐ จัตวา๗ ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง ๑ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ แต่ค่าขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งพันบาท๘
ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๙๑๙ วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่นั้น โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาลก็ได้
ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
ถ้าโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหาเหล่านั้นไว้อ่านให้โจทก์ฟัง แล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
มาตรา ๑๙๒ เมื่อศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ถ้าคดีนั้นได้ฟ้องโดยคำแถลงด้วยวาจา ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออย่างคดีสามัญ แต่ถ้าคดีนั้นได้ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออยู่แล้ว ห้ามมิให้ศาลออกหมายเรียกอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้สำหรับคดีสามัญ
ถ้าคดีนั้นไม่เป็นคดีมโนสาเร่ต่อไป เนื่องจากได้มีคำฟ้องเพิ่มเติมยื่นเข้ามาภายหลัง และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปอย่างคดีสามัญ
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว ถ้าศาลไม่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญ ให้ศาลมีคำสั่งคืนคำฟ้องนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ในกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดีมโนสาเร่และฟ้องแย้งนั้นมิใช่คดีมโนสาเร่ หรือในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีสามัญรวมกับคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีมโนสาเร่ไปอย่างคดีสามัญ แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ลักษณะคดี สถานะของคู่ความ หรือเหตุสมควรประการอื่นแล้วเห็นว่า การนำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่คดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญเช่นว่านั้นจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ก็ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญนั้นอย่างคดีมโนสาเร่ได้๑๐
คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลตามวรรคสี่ ไม่กระทบถึงค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละฝ่ายต้องชำระอยู่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเช่นว่านั้น๑๑
มาตรา ๑๙๓๑๒ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง และข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้นก่อน
ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ศาลสอบถามคำให้การของจำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำมาตรา ๑๙๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุการณ์นั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟัง แล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน ก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ๑๓
มาตรา ๑๙๓ ทวิ๑๔ ในคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา ๑๙๓ แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดีให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา ๑๙๓ แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนหรือในวันนัดดังกล่าว ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้บังคับตามมาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ และไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ถ้าศาลมีคำสั่งให้สืบพยานก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ
มาตรา ๑๙๓ ตรี๑๕ เมื่อศาลได้รับคำให้การของจำเลยตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสาม หรือศาลมีคำสั่งให้สืบพยานตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสี่ หรือมาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยเร็ว และให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วบันทึกไว้ หรือสั่งให้คู่ความจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควร โดยในกรณีที่มิใช่การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้
มาตรา ๑๙๓ จัตวา๑๖ ในคดีมโนสาเร่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง ให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้วจึงให้ตัวความหรือทนายความซักถามเพิ่มเติมได้
ให้ศาลมีอำนาจซักถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม
ในการบันทึกคำเบิกความของพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร จะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้ แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้
มาตรา ๑๙๓ เบญจ๑๗ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเลื่อน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนได้ครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน
มาตรา ๑๙๔ คดีมโนสาเร่นั้น ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือคำพิพากษาด้วยวาจาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๑
มาตรา ๑๙๕๑๘ นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๙๖๑๙ ในคดีสามัญซึ่งโจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธ หรือตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าคดีตามวรรคหนึ่งนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตรา ๑๙๐ จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้
ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้ ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมแล้วดำเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อบังคับแห่งคดีสามัญได้
๑ มาตรา ๑๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
๒ พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินในคดีมโนสาเร่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดขยายเป็น คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท
๓ พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินในคดีมโนสาเร่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดขยายเป็น คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาท
๔ มาตรา ๑๙๐ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
๕ มาตรา ๑๙๐ ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๖ มาตรา ๑๙๐ ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๗ มาตรา ๑๙๐ จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๘ มาตรา ๑๙๐ จัตวา วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๙ มาตรา ๑๙๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๐ มาตรา ๑๙๒ วรรคสี่ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๑ มาตรา ๑๙๒ วรรคห้า เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๒ มาตรา ๑๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๓ มาตรา ๑๙๓ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๔ มาตรา ๑๙๓ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๕ มาตรา ๑๙๓ ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๖ มาตรา ๑๙๓ จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๗ มาตรา ๑๙๓ เบญจ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๘ มาตรา ๑๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๙ มาตรา ๑๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
ส่วนที่ ๑
การขาดนัดยื่นคำให้การ
-------------------------
มาตรา ๑๙๗๑ เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
มาตรา ๑๙๘๒ ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้โจทก์มีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
ถ้าโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไปตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่ทราบหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้มีการส่งหมายเรียกใหม่ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนและจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้จำเลยได้ทราบหมายเรียกนั้นก็ได้
มาตรา ๑๙๘ ทวิ๓ ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
(๑) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน
(๒) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น
ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรานี้ มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์
มาตรา ๑๙๘ ตรี๔ ในคดีที่จำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นไปก่อนและดำเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ยื่นคำให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ให้ศาลรอการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดำเนินการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ยื่นคำให้การเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสำหรับจำเลยทุกคน
ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานของคู่ความอื่นมิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
มาตรา ๑๙๙๕ ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมิได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
ในกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามวรรคสอง หรือศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ตามคำขอของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา ๑๙๙ ตรี มาก่อน จำเลยนั้นจะขอยื่นคำให้การตามมาตรานี้อีกหรือจะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
มาตรา ๑๙๙ ทวิ๖ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ศาลอาจกำหนดการอย่างใด ตามที่เห็นสมควรเพื่อส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน หรือศาลจะให้เลื่อนการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นไปภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นให้บังคับตามมาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๘๙ และมาตรา ๓๓๘๗
มาตรา ๑๙๙ ตรี๘ จำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จำเลยนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่
(๑) ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว
(๒) คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย
มาตรา ๑๙๙ จัตวา๙ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
คำขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย
มาตรา ๑๙๙ เบญจ๑๐ เมื่อศาลได้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และศาลเห็นว่าเหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะดีได้ ทั้งในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้นผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ในกรณีเช่นนี้ ถ้ามีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ทราบด้วย
เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามวรรคสอง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว และให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับเช่นนั้น เพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอก ให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลพิจารณาคดีนั้นใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเหตุให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมมากกว่าที่ควรจะต้องเสีย ค่าฤชาธรรมที่เพิ่มขึ้นนั้นให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอันไม่จำเป็นตามความหมายแห่งมาตรา ๑๖๖
มาตรา ๑๙๙ ฉ๑๑ ในกรณีที่โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ ๑ นี้มาใช้บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งเช่นว่านั้นโดยอนุโลม
๑ มาตรา ๑๙๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๒ มาตรา ๑๙๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๓ มาตรา ๑๙๘ ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๔ มาตรา ๑๙๘ ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๕ มาตรา ๑๙๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๖ มาตรา ๑๙๙ ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๗ มาตรา ๑๙๙ ทวิ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
๘ มาตรา ๑๙๙ ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๙ มาตรา ๑๙๙ จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๑๐ มาตรา ๑๙๙ เบญจ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๑๑ มาตรา ๑๙๙ ฉ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
ส่วนที่ ๒
การขาดนัดพิจารณา
-------------------------
มาตรา ๒๐๐๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว
มาตรา ๒๐๑๒ ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
มาตรา ๒๐๒๓ ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
มาตรา ๒๐๓๔ ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีตามมาตรา ๒๐๑ และมาตรา ๒๐๒ แต่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ คำสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องของตนใหม่
มาตรา ๒๐๔๕ ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
มาตรา ๒๐๕๖ ในกรณีดังกล่าวมาในมาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๔ ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจของศาลว่าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานไปให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดทราบโดยชอบแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนวันสืบพยานไป และกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่แก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ถ้าได้กระทำดังเช่นว่ามาแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นยังไม่มาศาลก่อนเริ่มสืบพยานในวันที่กำหนดไว้ในหมายนั้น ก็ให้ศาลดำเนินคดีนั้นไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๒ หรือมาตรา ๒๐๔ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๐๖๗ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณานั้นหาได้ไม่ ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพัง ซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดีของคู่ความฝ่ายที่มาศาลโดยอนุโลม
ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามาศาลภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้ว และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดำเนินคดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรและศาลไม่เคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของคู่ความฝ่ายนั้นมาก่อนตามมาตรา ๑๙๙ ตรี ซึ่งให้นำมาใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๗ ด้วย ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ในกรณีเช่นนี้ หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรานี้ไม่ได้
ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามิได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี หรือคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมายก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่
(๑) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบถ้าคู่ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว
(๒) ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบไปแล้ว ห้ามไม่ให้ศาลยอมให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาคัดค้านพยานหลักฐานเช่นว่านั้น โดยวิธีถามค้านพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้สืบไปแล้วหรือโดยวิธีคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาล
(๓) ในกรณีเช่นนี้ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
มาตรา ๒๐๗๘ เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และคู่ความฝ่ายนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙ ตรี มาตรา ๑๙๙ จัตวา และมาตรา ๑๙๙ เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐๘๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๐๙๑๐ (ยกเลิก)
๑ มาตรา ๒๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๒ มาตรา ๒๐๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๓ มาตรา ๒๐๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๔ มาตรา ๒๐๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๕ มาตรา ๒๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๖ มาตรา ๒๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๗ มาตรา ๒๐๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๘ มาตรา ๒๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๙ มาตรา ๒๐๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
๑๐ มาตรา ๒๐๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
หมวด ๓
อนุญาโตตุลาการ
-------------------------
มาตรา ๒๑๐ บรรดาคดีทั้งปวงซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความจะตกลงกันเสนอข้อพิพาทอันเกี่ยวกับประเด็นทั้งปวงหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง ให้อนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ โดยยื่นคำขอร่วมกันกล่าวถึงข้อความแห่งข้อตกลงเช่นว่านั้นต่อศาล
ถ้าศาลเห็นว่าข้อตกลงนั้นไม่ผิดกฎหมาย ให้ศาลอนุญาตตามคำขอนั้น
มาตรา ๒๑๑ ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดข้อความไว้เป็นอย่างอื่น การตั้งอนุญาโตตุลาการให้ใช้ข้อบังคับดังต่อไปนี้
(๑) คู่ความชอบที่จะตั้งอนุญาโตตุลาการได้ฝ่ายละคน แต่ถ้าคดีมีโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมหลายคน ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการเพียงคนหนึ่งแทนโจทก์ร่วมทั้งหมดและคนหนึ่งแทนจำเลยร่วมทั้งหมด
(๒) ถ้าคู่ความจะตั้งอนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือหลายคน ด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน การตั้งเช่นว่านี้ให้ทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี และให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(๓) ถ้าตกลงกันให้คู่ความฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ตั้งอนุญาโตตุลาการ การตั้งเช่นว่านี้ ให้ทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของคู่ความหรือบุคคลภายนอกนั้นแล้วส่งไปให้คู่ความอื่น ๆ
(๔) ถ้าศาลไม่เห็นชอบด้วยบุคคลที่คู่ความตั้งหรือที่เสนอตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการให้ศาลสั่งให้คู่ความตั้งบุคคลอื่นหรือเสนอบุคคลอื่นตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการ ถ้าคู่ความมิได้ตั้งหรือเสนอให้ตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการได้ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลส่งคำสั่งเช่นว่านี้ไปยังอนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้น และคู่ความที่เกี่ยวข้องโดยทางเจ้าพนักงานศาล
มาตรา ๒๑๒ ข้อความในหมวดนี้มิได้ให้อำนาจศาลที่จะตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการโดยมิได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น
มาตรา ๒๑๓ เมื่อบุคคลหรือคู่ความที่มีสิทธิ ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว ห้ามมิให้บุคคลหรือคู่ความนั้นถอนการตั้งเสีย เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมด้วย
อนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นโดยชอบนั้น ถ้าเป็นกรณีที่ศาลหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ตั้ง คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะคัดค้านก็ได้ หรือถ้าเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตั้ง คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะคัดค้านก็ได้ โดยอาศัยเหตุดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑ หรือเหตุที่อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการได้ ในกรณีที่มีการคัดค้านอนุญาโตตุลาการดังว่านี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าการคัดค้านอนุญาโตตุลาการนั้นฟังขึ้น ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นใหม่
มาตรา ๒๑๔ ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการไว้ อนุญาโตตุลาการชอบที่จะเสนอความข้อนี้ต่อศาลโดยทำเป็นคำร้อง และให้ศาลมีอำนาจมีคำสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๒๑๕ เมื่อได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว ถ้าในข้อตกลงหรือในคำสั่งศาล แล้วแต่กรณี มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ ให้อนุญาโตตุลาการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นแล้วจดลงในรายงานพิสดารกลัดไว้ในสำนวนคดีอนุญาโตตุลาการ
มาตรา ๒๑๖ ก่อนที่จะทำคำชี้ขาด ให้อนุญาโตตุลาการฟังคู่ความทั้งปวงและอาจทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรในข้อพิพาทอันเสนอมาให้พิจารณานั้น
อนุญาโตตุลาการ อาจตรวจเอกสารทั้งปวงที่ยื่นขึ้นมาและฟังพยาน หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งเต็มใจมาให้การ ถ้าอนุญาโตตุลาการขอให้ศาลส่งคำคู่ความ หรือบรรดาเอกสารอื่น ๆ ในสำนวนเช่นว่านี้มาให้ตรวจดู ให้ศาลจัดการให้ตามคำร้องขอนั้น
ถ้าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใด ที่ต้องดำเนินทางศาล (เช่น หมายเรียกพยาน หรือให้พยานสาบานตน หรือให้ส่งเอกสาร) อนุญาโตตุลาการอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่ากระบวนพิจารณานั้นอยู่ในอำนาจศาลและพึงรับทำให้ได้แล้ว ให้ศาลจัดการให้ตามคำขอเช่นว่านี้ โดยเรียกค่าธรรมเนียมศาลตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับกระบวนพิจารณาที่ขอให้จัดการนั้นจากอนุญาโตตุลาการ
ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๒๑๕ และมาตรานี้ อนุญาโตตุลาการมีอำนาจที่จะดำเนินตามวิธีพิจารณาใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ เว้นแต่ในข้อตกลงจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒๑๗ ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นให้อยู่ภายในบังคับต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการหลายคน ให้ชี้ขาดตามคะแนนเสียงฝ่ายข้างมาก
(๒) ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้อนุญาโตตุลาการตั้งบุคลภายนอกเป็นประธานขึ้นคนหนึ่ง เพื่อออกคะแนนเสียงชี้ขาด ถ้าอนุญาโตตุลาการไม่ตกลงกันในการตั้งประธาน ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน
มาตรา ๒๑๘ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๐, ๑๔๑ และ ๑๔๒ ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งของศาลมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอนุโลม
ให้อนุญาโตตุลาการยื่นคำชี้ขาดของตนต่อศาล และให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น
แต่ถ้าศาลเห็นว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายประการใดประการหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น แต่ถ้าคำชี้ขาดนั้นอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลอาจให้อนุญาโตตุลาการหรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อนภายในเวลาอันสมควรที่ศาลจะกำหนดไว้
มาตรา ๒๑๙ ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดข้อความไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินตามข้อตกลง เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด เพราะบุคคลภายนอกซึ่งรับมอบหมายให้เป็นผู้ตั้งอนุญาโตตุลาการมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้น หรืออนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นคนเดียวหรือหลายคนนั้นปฏิเสธไม่ยอมรับหน้าที่ หรือตายเสียก่อน หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือด้วยเหตุประการอื่นไม่อาจที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ก่อนให้คำชี้ขาด หรือปฏิเสธ หรือเพิกเฉยไม่กระทำตามหน้าที่ของตนภายในเวลาอันสมควร ถ้าคู่ความไม่สามารถทำความตกลงกันเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นอันสิ้นสุด
มาตรา ๒๒๐ ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินตามข้อตกลงเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หรือมีข้อพิพาทกันว่า ข้อตกลงนั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตราก่อนแล้วหรือหาไม่ ข้อพิพาทนั้นให้เสนอต่อศาลที่เห็นชอบด้วยข้อตกลงดังกล่าวแล้ว
มาตรา ๒๒๑๑ การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
มาตรา ๒๒๒ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลซึ่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำสั่งชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หรือคำพิพากษาของศาลตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีข้ออ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการหรือประธานมิได้กระทำการโดยสุจริต หรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉล
(๒) เมื่อคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นไม่ตรงกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
๑ มาตรา ๒๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๐
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
-------------------------
มาตรา ๒๒๒/๑๑ ในหมวดนี้
“กลุ่มบุคคล” หมายความว่า บุคคลหลายคนที่มีสิทธิอย่างเดียวกันอันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายเดียวกัน และมีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเหมือนกัน แม้ว่าจะมีลักษณะของความเสียหายที่แตกต่างกันก็ตาม
“สมาชิกกลุ่ม” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ที่อยู่ในกลุ่มบุคคล
“การดำเนินคดีแบบกลุ่ม” หมายความว่า การดำเนินคดีที่ศาลอนุญาตให้เสนอคำฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงสิทธิของโจทก์และสมาชิกกลุ่ม
“เจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่ม” หมายความว่า บุคคลที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
มาตรา ๒๒๒/๒๒ เพื่อความเหมาะสมสำหรับคดีบางประเภท หรือเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาหรือการบังคับคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในหมวดนี้ได้ ดังนี้
(๑) กำหนดคุณสมบัติ ส่วนได้เสีย รวมตลอดทั้งการได้มาซึ่งสิทธิการเป็นสมาชิกกลุ่มของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแบบกลุ่มได้
(๒) กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
(๓) กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแจ้งเรื่องการดำเนินคดีแบบกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มทราบ
(๔) กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการนัดพร้อม การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การ การดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐาน ในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
(๕) กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบังคับคดีและเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์
(๖) ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องที่จำเป็นอื่น ๆ ในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
ข้อกำหนดนั้น เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๒๒๒/๓๓ ศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเว้นแต่ศาลแขวง มีอำนาจในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
มาตรา ๒๒๒/๔๔ กระบวนพิจารณาส่วนใดที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติในภาค ๑ บททั่วไป และบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในหมวดนี้
ในกรณีที่มีการร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีซึ่งมีกฎหมายกำหนดวิธีพิจารณาความไว้เป็นการเฉพาะ ให้ศาลในคดีนั้นมีอำนาจสั่งให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มและนำวิธีพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๒/๕๕ ให้มีเจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่มทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการดำเนินคดีแบบกลุ่มตามที่ศาลมอบหมาย ดังต่อไปนี้
(๑) ไกล่เกลี่ยคดีแบบกลุ่ม
(๒) ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน
(๓) บันทึกคำพยาน
(๔) ดำเนินการให้มีการคุ้มครองสิทธิของคู่ความและสมาชิกกลุ่มทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณา
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้หรือตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาในการทำหน้าที่ช่วยเหลือนั้น
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ ให้เจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่มเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจมีหนังสือเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูลหรือให้จัดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามอำนาจหน้าที่
หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่มให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา
ในกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาความใดบัญญัติให้มีเจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการดำเนินคดีไว้เป็นการเฉพาะ ให้เจ้าพนักงานคดีดังกล่าวนอกจากมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้นแล้วมีหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ด้วย
มาตรา ๒๒๒/๖๖ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่ม ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางกฎหมายหรือปริญญาเอกทางกฎหมาย
(๒) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมาย เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชศาลยุติธรรมกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๓) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายและปริญญาในสาขาวิชาอื่นที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกำหนดซึ่งไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและได้ประกอบวิชาชีพตามที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่ม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกำหนด
มาตรา ๒๒๒/๗๗ ในกรณีที่การฟ้องคดีแบบกลุ่มตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ว่าจะมีการฟ้องเป็นคดีอาญาแล้วก็ตาม ศาลที่พิจารณาคดีแบบกลุ่มอาจพิจารณาคดีต่อไปโดยไม่ต้องรอให้ศาลคดีอาญามีคำพิพากษาก่อน และหากศาลในคดีอาญาได้มีคำพิพากษาแล้ว
(๑) ในกรณีที่คำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นได้วินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำความผิด ศาลที่พิจารณาคดีแบบกลุ่มต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
(๒) ในกรณีที่คำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ศาลที่พิจารณาคดีแบบกลุ่มไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
๑ มาตรา ๒๒๒/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒ มาตรา ๒๒๒/๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๓ มาตรา ๒๒๒/๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๔ มาตรา ๒๒๒/๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๕ มาตรา ๒๒๒/๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๖ มาตรา ๒๒๒/๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๗ มาตรา ๒๒๒/๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
ส่วนที่ ๒
การขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
-------------------------
มาตรา ๒๒๒/๘๑ คดีที่มีสมาชิกกลุ่มจำนวนมากดังต่อไปนี้ โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มอาจร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มได้
(๑) คดีละเมิด
(๒) คดีผิดสัญญา
(๓) คดีเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคแรงงาน หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การแข่งขันทางการค้า
มาตรา ๒๒๒/๙๒ ในการร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องเริ่มคดีเพื่อขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มได้ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
คำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มตามวรรคหนึ่ง โจทก์ต้องแสดงเหตุตามสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
มาตรา ๒๒๒/๑๐๓ คำฟ้องของโจทก์ต้องทำเป็นหนังสือและแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์และของกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเดียวกับโจทก์ด้วย และในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน คำขอบังคับของกลุ่มบุคคลต้องระบุหลักการและวิธีการคำนวณเพื่อชำระเงินให้แก่สมาชิกกลุ่มเท่าที่จะระบุได้ แต่ไม่จำเป็นต้องแสดงจำนวนเงินที่สมาชิกกลุ่มแต่ละรายจะได้รับด้วย
ในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้โจทก์ผู้เริ่มคดีเสียค่าขึ้นศาลตามคำขอบังคับเฉพาะในส่วนของโจทก์ผู้เริ่มคดีเท่านั้น
มาตรา ๒๒๒/๑๑๔ ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม หากศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อขัดข้องที่จะรับไว้ตามมาตรา ๑๘ หรือมีข้อขัดข้องแต่โจทก์ได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งรับคำฟ้อง ให้ศาลพิจารณาคำร้องของโจทก์ตามมาตรา ๒๒๒/๑๒ แล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๒๒๒/๑๒๕ ในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้ศาลจัดส่งสำเนาคำฟ้องและคำร้องเช่นว่านั้นไปให้จำเลย เมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายและทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มได้ต่อเมื่อเป็นที่พอใจแก่ศาลว่า
(๑) สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์และของกลุ่มบุคคล มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๐
(๒) โจทก์ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันของกลุ่มบุคคลที่ชัดเจนเพียงพอเพื่อให้รู้ได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลใด
(๓) กลุ่มบุคคลมีสมาชิกกลุ่มจำนวนมาก ซึ่งการดำเนินคดีอย่างคดีสามัญจะทำให้เกิดความยุ่งยากและไม่สะดวก
(๔) การดำเนินคดีแบบกลุ่มจะเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินคดีอย่างคดีสามัญ
(๕) โจทก์ได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นสมาชิกกลุ่มที่มีคุณสมบัติ ส่วนได้เสีย รวมตลอดทั้งการได้มาซึ่งสิทธิการเป็นสมาชิกกลุ่ม ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ถ้ามี และโจทก์รวมทั้งทนายความที่โจทก์เสนอให้เป็นทนายความของกลุ่มสามารถดำเนินคดีคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ศาลอาจจำกัดขอบเขตของกลุ่มบุคคลให้ชัดเจนเพียงพอเพื่อให้รู้ว่าเป็นลุ่มบุคคลใดก็ได้
คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มอาจอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง และให้งดการพิจารณาไว้จนกว่าคำสั่งนั้นจะถึงที่สุด ทั้งนี้ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้ศาลสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณา เมื่อได้ส่งหมายเรียกให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในหนึ่งเดือนและให้ถือว่าทนายความของโจทก์เป็นทนายความของกลุ่มด้วย
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ
มาตรา ๒๒๒/๑๓๖ ในกรณีที่มีการยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มเกี่ยวกับสิทธิอย่างเดียวกันหลายรายในศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ให้ศาลรวมการพิจารณาคำร้องขอเหล่านั้นเข้าด้วยกัน และมีคำสั่งให้ผู้ร้องรายหนึ่งรายใดเป็นโจทก์ในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในข้อกำหดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา ๒๒๒/๒ คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา ๒๒๒/๑๒ วรรคสาม
๑ มาตรา ๒๒๒/๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒ มาตรา ๒๒๒/๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๓ มาตรา ๒๒๒/๑๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๔ มาตรา ๒๒๒/๑๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๕ มาตรา ๒๒๒/๑๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๖ มาตรา ๒๒๒/๑๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
ส่วนที่ ๓
การพิจารณาคดีแบบกลุ่ม
-------------------------
มาตรา ๒๒๒/๑๔๑ เมื่อคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มถึงที่สุดแล้ว ให้ศาลสั่งให้โจทก์นำเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาวางต่อศาลตามจำนวนที่เห็นสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวและไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่มและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ
หากต่อมาปรากฏว่าค่าใช้จ่ายที่วางไว้มีจำนวนไม่เพียงพอ ศาลจะสั่งให้มีการวางเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพิ่มเติมตามจำนวนที่เห็นสมควรก็ได้ ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวและไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
มาตรา ๒๒๒/๑๕๒ ให้ศาลส่งคำบอกกล่าวคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเท่าที่ทราบ และประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน รวมทั้งทางสื่อมวลชนอื่นหรือวิธีการอื่นใดเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร
คำบอกกล่าวและประกาศอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อศาลและเลขคดี
(๒) ชื่อและที่อยู่ของคู่ความและทนายความฝ่ายโจทก์
(๓) ข้อความโดยย่อของคำฟ้องและลักษณะของกลุ่มบุคคลที่ชัดเจน
(๔) ข้อความที่แสดงว่าศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม และวันเดือนปีที่ศาลมีคำสั่ง
(๕) สิทธิของสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๖ และมาตรา ๒๒๒/๑๗
(๖) กำหนดวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มแจ้งความประสงค์ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม ทั้งนี้ ตามที่ศาลเห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน
(๗) ผลของการออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม
(๘) ผลของคำพิพากษาที่จะผูกพันสมาชิกกลุ่ม
(๙) ชื่อและตำแหน่งผู้พิพากษาผู้ออกคำบอกกล่าวและประกาศ
มาตรา ๒๒๒/๑๖๓ สมาชิกกลุ่มมีสิทธิออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มได้โดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา ๒๒๒/๑๕ (๖) และให้ถือว่าสมาชิกกลุ่มดังกล่าวไม่เป็นสมาชิกกลุ่มนับแต่วันที่ได้แจ้งความประสงค์นั้นต่อศาล
เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง สมาชิกกลุ่มจะออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และคำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด
บุคคลที่ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว จะร้องขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มอีกไม่ได้
สมาชิกกลุ่มและบุคคลที่ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มจะร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในการดำเนินคดีแบบกลุ่มโดยอาศัยสิทธิตามมาตรา ๕๗ ไม่ได้
มาตรา ๒๒๒/๑๗๔ สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๖ ย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) เข้าฟังการพิจารณาคดี
(๒) ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์มิได้มีคุณสมบัติ ส่วนได้เสีย รวมตลอดทั้งการได้มาซึ่งสิทธิการเป็นสมาชิกกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๒ (๕)
(๓) ขอตรวจเอกสารทั้งหมดหรือบางส่วนในสำนวนความหรือขอคัดสำเนาเอกสารเหล่านั้น
(๔) จัดหาทนายความคนใหม่มาดำเนินคดีแทนทนายความของกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๙ วรรคสอง
(๕) ร้องขอเข้าแทนที่โจทก์โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติในส่วนนี้
(๖) คัดค้านการร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ตามมาตรา ๒๒๒/๒๕ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ การที่มีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมวามกันในประเด็นแห่งคดีตามมาตรา ๒๒๒/๒๙ และการที่คู่ความตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดตามมาตรา ๒๒๒/๓๐
(๗) ตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๒๒๒/๔๐
สมาชิกกลุ่มจะแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้
มาตรา ๒๒๒/๑๘๕ ห้ามมิให้สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๖ ยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ได้ยื่นฟ้อง
ในกรณีที่สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มได้ยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาของการออกจากสมาชิกกลุ่ม ให้ศาลที่ได้รับฟ้องไว้นั้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
มาตรา ๒๒๒/๑๙๖ ในกรณีที่การดำเนินคดีแบบกลุ่มจะไม่คุ้มครองหรือเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกกลุ่มอย่างเพียงพอ หรือไม่มีความจำเป็นที่จะดำเนินคดีแบบกลุ่มอีกต่อไป เมื่อความปรากฏต่อศาลเองหรือตามคำแถลงของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่มและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ โดยให้ถือว่ากระบวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วมีผลผูกพันการดำเนินคดีสามัญของโจทก์และจำเลยต่อไปด้วย
หากความปรากฏต่อศาลในระหว่างการพิจารณาว่าทนายความฝ่ายโจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม หรือทนายความฝ่ายโจทก์ขอถอนตัวจากการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์และสมาชิกกลุ่มจัดหาทนายความคนใหม่มาดำเนินคดีแทนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หากโจทก์และสมาชิกกลุ่มเพิกเฉยไม่ดำเนินการดังกล่าว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๒๒/๒๐๗ เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มและจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ให้ศาลกำหนดวันนัดพร้อมโดยสั่งให้คู่ความทุกฝ่ายมาศาลเพื่อดำเนินการดังนี้
(๑) ไกล่เกลี่ยหรือนำวิธีอนุญาโตตุลาการมาใช้เพื่อให้คดีเสร็จไปทั้งหมดหรือบางส่วน
(๒) ให้คู่ความนำต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตนที่สามารถนำมาศาลได้มาแสดงต่อศาล เพื่อให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจดู
ถ้าพยานหลักฐานดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะอ้างอิงต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานหลักฐานนั้นมาจากผู้ครอบครอง โดยยื่นคำขอต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยานเพื่อให้ได้พยานหลักฐานนั้นมาก่อนวันนัดพร้อม
ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องทำให้คู่ความไม่สามารถนำพยานหลักฐานที่อยู่ในความครอบครองของตนมาหรือยังไม่ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ศาลออกคำสั่งเรียกจากคู่ความฝ่ายอื่นหรือบุคคลภายนอก หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด ถ้าศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาลเลื่อนวันนัดพร้อมออกไปตามที่เห็นสมควร
หากคู่ความฝ่ายใดจงใจไม่ดำเนินการดังกล่าวในวันนัดพร้อมหรือวันอื่นที่ศาลได้เลื่อนไป คู่ความฝ่ายนั้นไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบในภายหลัง แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
(๓) ให้ศาลตรวจคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดูและสอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาล ว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียง นั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่วามฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้
ในการสอบถามคู่ความดังกล่าว คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบคำถามที่ศาลถามเอง หรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความได้ยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่ศาลจะเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งได้ในขณะนั้นและเป็นข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลจะมีคำสั่งให้เลื่อนวันนัดพร้อมเฉพาะส่วนที่ยังไม่เสร็จสิ้นออกไป และให้คู่ความฝ่ายนั้นทำคำแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นมายื่นต่อศาลภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
(๔) กำหนดระยะเวลาทั้งหมดในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
(๕) กำหนดวัน เวลา วิธีการ และขั้นตอนในการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่จำเป็น เช่น จำนวนและรายละเอียดเกี่ยวกับพยานที่จะนำมาเบิกความ บันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ พยานเอกสาร และพยานหลักฐานที่ต้องการให้ศาลเรียกจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การเดินเผชิญสืบ และการส่งประเด็นไปสืบยังศาลอื่น
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดพร้อมหรือวันอื่นที่ศาลได้เลื่อนไป ให้ศาลดำเนินการตามมาตรานี้โดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ทราบการดำเนินการในวันนั้นแล้ว และคู่ความที่ไม่มาศาลไม่มีสิทธิขอเลื่อนกำหนดนัดหรือคัดค้านประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนด เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันนัดพร้อมหรือวันอื่นที่ศาลได้เลื่อนไปเพราะเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้หรือเป็นการคัดค้านประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อศาลได้ดำเนินการตามมาตรานี้เสร็จสิ้นแล้ว ให้ศาลกำหนดวันสืบพยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันนัดพร้อมวันสุดท้าย
ให้ถือว่าวันนัดพร้อมวันแรกตามมาตรานี้เป็นวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายนี้
มาตรา ๒๒๒/๒๑๘ ก่อนวันนัดพร้อมตามมาตรา ๒๒๒/๒๐ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลพร้อมสำเนาในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นรับไปจากเจ้าพนักงานศาลและถ้าคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นต่อศาลก่อนกระบวนพิจารณาที่ต้องกระทำในวันนัดพร้อมเสร็จสิ้น
การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อผู้ร้องขอแสดงเหตุอันสมควรว่าไม่สามารถทราบถึงพยานหลักฐานนั้นหรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือเพื่อให้โอกาสแก่คู่ความในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
มาตรา ๒๒๒/๒๒๙ ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณามิได้ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความในวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือในกรณีที่คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา ๒๒๒/๒๕
นอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๒/๒๓๑๐ ในการพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ ในการนี้ ศาลจะรับฟังพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือจากพยานหลักฐานของคู่ความก็ได้ แต่ต้องให้คู่ความทุกฝ่ายทราบและไม่ตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะโต้แย้งพยานหลักฐานดังกล่าว
ศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีได้ แต่ต้องให้คู่ความทุกฝ่ายทราบและไม่ตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะขอให้เรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนมาให้ความเห็นโต้แย้งหรือเพิ่มเติมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว
บุคคลที่ศาลขอให้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมีสิทธิได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาโดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมกาบริหารศาลยุติธรรม และไม่ถือว่าเงินที่ศาลสั่งจ่ายตามวรรคนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่คู่ความจะต้องชำระ
มาตรา ๒๒๒/๒๔๑๑ ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ศาลอาจมีคำสั่งให้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเนื่องจากมีลักษณะของความเสียหายที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในกลุ่ม และในกรณีเช่นนี้ศาลอาจสั่งให้มีการนำสืบถึงความเสียหายของกลุ่มย่อยให้ชัดเจนด้วยก็ได้ คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๒๒/๒๕๑๒ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ศาลกำหนดวันตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มยื่นคำขอเข้าแทนที่โจทก์ รวมทั้งกำหนดวันยื่นคำคัดค้านคำขอเข้าแทนที่โจทก์วันนัดไต่สวนคำขอเข้าแทนที่โจทก์ และส่งคำบอกกล่าวให้สมาชิกกลุ่มเท่าที่ทราบ กับประกาศโดยใช้วิธีการตามที่เห็นสมควร
(๑) เมื่อโจทก์มิได้มีคุณสมบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๒ (๕)
(๒) เมื่อโจทก์มรณะหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
(๓) เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์
(๔) เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง
(๕) เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายหรือโจทก์ขาดนัดพิจารณา
(๖) เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามมาตรา ๒๒๒/๒๒
(๗) เมื่อโจทก์ร้องขอต่อศาลว่าไม่ประสงค์ที่จะเป็นโจทก์ดำเนินคดีแทนกลุ่มอีกต่อไป
ในกรณีตาม (๒) นอกจากสมาชิกกลุ่มแล้ว บุคคลตามมาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๕ แล้วแต่กรณี อาจร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ได้ด้วย โดยให้นำมาตรา ๒๒๒/๒๖ และมาตรา ๒๒๒/๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๒/๒๖๑๓ ในการพิจารณาอนุญาตให้สมาชิกกลุ่มคนใดเข้าแทนที่โจทก์ต้องเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าสมาชิกกลุ่มคนนั้นมีคุณสมบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๒ (๕)
ถ้าศาลอนุญาตให้สมาชิกกลุ่มเข้าแทนที่โจทก์ ให้โจทก์เดิมยังคงมีฐานะเป็นสมาชิกกลุ่มคนหนึ่งและทนายความของโจทก์เดิมยังคงเป็นทนายความของกลุ่มต่อไป ในกรณีตามมาตรา ๒๒๒/๒๕ (๕) และ (๖) ให้ศาลกำหนดวันสืบพยานใหม่โดยเร็ว ถ้าศาลไม่อนุญาตให้สมาชิกกลุ่มเข้าแทนที่โจทก์หรือไม่มีการร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่มและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ โดยให้ถือว่ากระบวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วมีผลผูกพันการดำเนินคดีสามัญของโจทก์ต่อไปด้วย
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๒๒/๒๗๑๔ ห้ามมิให้สมาชิกกลุ่มที่เข้าแทนที่โจทก์ตามมาตรา ๒๒๒/๒๕ ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์เดิม เว้นแต่เป็นที่พอใจแก่ศาลตามคำร้องของสมาชิกกลุ่มที่เข้าแทนที่โจทก์ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ที่ได้ทำไปแล้วซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิกกลุ่มนั้นเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ในกรณีเช่นว่านี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจมีคำสั่งอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา ๒๒๒/๒๘๑๕ เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มแล้วโจทก์จะถอนคำฟ้องไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
ในกรณีที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน
ในกรณีที่ได้มีการส่งคำบอกกล่าวกับประกาศให้สมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๕ แล้ว หากศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง ให้ศาลกำหนดวันตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มคัดค้านโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาล และสั่งให้โจทก์นำเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาล รวมทั้งแจ้งเรื่องการถอนฟ้องให้สมาชิกกลุ่มทราบตามวิธีการเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๕ วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาลตามวรรคสามโดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ถอนคำฟ้อง
มาตรา ๒๒๒/๒๙๑๖ เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มและพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๒๒๒/๑๕ (๖) แล้ว ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้มีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี ให้ศาลกำหนดวันตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มคัดค้านหรือแจ้งความประสงค์ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาล และสั่งให้โจทก์นำเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาล เพื่อแจ้งเรื่องการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีให้สมาชิกกลุ่มทราบตามวิธีการเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๕ วรรคหนึ่ง เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้มีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว ให้ถือว่าสมาชิกกลุ่มรายที่แจ้งความประสงค์ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มและมิได้ขอถอนความประสงค์ดังกล่าวก่อนศาลมีคำสั่งอนุญาต ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต
ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี
มาตรา ๒๒๒/๓๐๑๗ เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มและพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๒๒๒/๑๕ (๖) แล้ว ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ให้นำความในมาตรา ๒๒๒/๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๒/๓๑๑๘ คำบอกกล่าวและประกาศตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ มาตรา ๒๒๒/๒๙ และมาตรา ๒๒๒/๓๐ อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อศาลและเลขคดี
(๒) ชื่อและที่อยู่ของคู่ความ
(๓) ข้อความโดยย่อของคำฟ้องและลักษณะของกลุ่มบุคคลที่ชัดเจน
(๔) ข้อความโดยย่อของการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วและเหตุที่ต้องมีคำบอกกล่าวและประกาศ
(๕) สิทธิของสมาชิกกลุ่มและผลของคำสั่งอนุญาตของศาลตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/๓๐ แล้วแต่กรณี
(๖) ผลของการออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/๓๐ แล้วแต่กรณี
(๗) ชื่อและตำแหน่งผู้พิพากษาผู้ออกคำบอกกล่าวและประกาศ
มาตรา ๒๒๒/๓๒๑๙ ในการพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/๓๐ ให้ศาลคำนึงถึง
(๑) ความจำเป็นในการดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อไป
(๒) ความคุ้มครองหรือประโยชน์ของสมาชิกกลุ่ม
(๓) ความยุ่งยากหรือความสะดวกในการดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อไป
(๔) ความเป็นธรรมและความมีประสิทธิภาพในการดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อไป
(๕) จำนวนของสมาชิกกลุ่มที่คัดค้าน
(๖) ความสามารถของจำเลยในการชดใช้ค่าเสียหายในกรณีมีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี
(๗) การตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีของคู่ความมีความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์กับสมาชิกกลุ่ม
มาตรา ๒๒๒/๓๓๒๐ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มให้อายุความในการฟ้องคดีของสมาชิกกลุ่มสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม หากปรากฏว่าอายุความการฟ้องคดีของสมาชิกกลุ่มครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคำร้องขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม หรือจะครบกำหนดภายในกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุด ให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุด
มาตรา ๒๒๒/๓๔๒๑ ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา ๒๒๒/๓๓ หากมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง
(๑) ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง
(๒) ศาลมีคำสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
(๓) ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้อง
(๔) ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลหรือโดยไม่ตัดสิทธิสมาชิกกลุ่มที่จะฟ้องคดีใหม่
(๕) สมาชิกกลุ่มออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๖ มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/๓๐
ในกรณีตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) หากปรากฏว่าอายุความการฟ้องคดีของสมาชิกกลุ่มครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่สมาชิกกลุ่มไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม แล้วแต่กรณี
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกกลุ่มผู้ใดถูกปฏิเสธคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างเหตุว่าไม่เป็นสมาชิกกลุ่มตามคำพิพากษา เนื่องจากศาลได้มีคำพิพากษาโดยกำหนดลักษณะเฉพาะของกลุ่มแตกต่างจากลักษณะเฉพาะของกลุ่มตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๒ วรรคสอง โดยให้มีสิทธิฟ้องคดีนับแต่วันที่คำสั่งปฏิเสธคำขอรับชำระหนี้ถึงที่สุด
๑ มาตรา ๒๒๒/๑๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒ มาตรา ๒๒๒/๑๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๓ มาตรา ๒๒๒/๑๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๔ มาตรา ๒๒๒/๑๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๕ มาตรา ๒๒๒/๑๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๖ มาตรา ๒๒๒/๑๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๗ มาตรา ๒๒๒/๒๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๘ มาตรา ๒๒๒/๒๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๙ มาตรา ๒๒๒/๒๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๐ มาตรา ๒๒๒/๒๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๑ มาตรา ๒๒๒/๒๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๒ มาตรา ๒๒๒/๒๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๓ มาตรา ๒๒๒/๒๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๔ มาตรา ๒๒๒/๒๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๕ มาตรา ๒๒๒/๒๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๖ มาตรา ๒๒๒/๒๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๗ มาตรา ๒๒๒/๓๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๘ มาตรา ๒๒๒/๓๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๙ มาตรา ๒๒๒/๓๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๐ มาตรา ๒๒๒/๓๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๑ มาตรา ๒๒๒/๓๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
ส่วนที่ ๔
คำพิพากษาและการบังคับคดี
-------------------------
มาตรา ๒๒๒/๓๕๑ คำพิพากษาของศาลมีผลเป็นการผูกพันคู่ความและสมาชิกกลุ่มและในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ให้โจทก์หรือทนายความฝ่ายโจทก์มีอำนาจดำเนินการบังคับคดีแทนโจทก์และสมาชิกกลุ่ม
สมาชิกกลุ่มมีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีตามส่วนนี้ด้วยตนเอง
หากความปรากฏต่อศาลว่าทนายความฝ่ายโจทก์ไม่สามารถดำเนินการบังคับคดีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์และสมาชิกกลุ่มจัดหาทนายความคนใหม่มาดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
มาตรา ๒๒๒/๓๖๒ คำพิพากษาของศาลต้องกล่าวหรือแสดงรายการดังต่อไปนี้
(๑) รายการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๔๑
(๒) ลักษณะโดยชัดเจนของกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มย่อยที่จะต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษา
(๓) ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ต้องระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในการชำระเงินให้สมาชิกกลุ่ม
(๔) จำนวนเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ตามมาตรา ๒๒๒/๓๗
มาตรา ๒๒๒/๓๗๓ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สิน ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินรางวัลที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่ทนายความฝ่ายโจทก์ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความยากง่ายของคดีประกอบกับระยะเวลาและการทำงานของทนายความฝ่ายโจทก์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งมิใช่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ทนายความฝ่ายโจทก์ได้เสียไป และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ เมื่อการพิจารณาสิ้นสุดลงให้ทนายความฝ่ายโจทก์ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายดังกล่าวต่อศาลโดยให้ส่งสำเนาแก่จำเลยด้วย
ถ้าคำพิพากษากำหนดให้จำเลยใช้เงิน นอกจากศาลต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ศาลคำนึงถึงจำนวนเงินที่โจทก์และสมาชิกกลุ่มมีสิทธิได้รับประกอบด้วย โดยกำหนดเป็นจำนวนร้อยละของจำนวนเงินดังกล่าว แต่จำนวนเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของจำนวนเงินนั้น
ถ้าคำพิพากษากำหนดให้จำเลยกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สินและให้ใช้เงินรวมอยู่ด้วย ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการกำหนดจำนวนเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ตามมาตรานี้ หากมีการเปลี่ยนทนายความฝ่ายโจทก์ ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ตามสัดส่วนของการทำงานและค่าใช้จ่ายที่ทนายความแต่ละคนเสียไป
ให้ถือว่าทนายความฝ่ายโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนของเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ด้วย และเงินรางวัลดังกล่าวมิใช่ค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา ๒๒๒/๓๘๔ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ให้ศาลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปฏิบัติตามคำพิพากษา โดยจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาหรือโดยคำสั่งในภายหลังก็ได้ และในระหว่างการบังคับคดีให้ศาลมีอำนาจออกคำบังคับเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ตามที่เห็นสมควร
ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาคำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๒๒/๓๙๕ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาให้สมาชิกกลุ่มทราบตามวิธีการเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๕ วรรคหนึ่ง และให้แจ้งอธิบดีกรมบังคับคดีทราบด้วย
ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินหรือชำระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการต่อไป รวมทั้งกำหนดวันตามที่เห็นสมควรในคำบอกกล่าวและประกาศตามวรรคหนึ่ง เพื่อให้สมาชิกกลุ่มยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้อย่างอื่นและจำเป็นจะต้องมีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์แก่การบังคับตามคำพิพากษา โจทก์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการได้
เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคสอง สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินในการบังคับคดีตามส่วนนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลา
มาตรา ๒๒๒/๔๐๖ คู่ความในคดีและสมาชิกกลุ่มรายอื่นอาจขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของสมาชิกกลุ่มผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ แต่ต้องกระทำภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย อาจขอขยายระยะเวลาออกไปอีกได้ไม่เกินสามสิบวัน
มาตรา ๒๒๒/๔๑๗ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเรียกคู่ความในคดี สมาชิกกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาสอบสวนในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ของสมาชิกกลุ่มเพื่อพิจารณามีคำสั่งต่อไปได้
มาตรา ๒๒๒/๔๒๘ คำขอรับชำระหนี้ของสมาชิกกลุ่มรายใด ถ้าคู่ความในคดีและสมาชิกกลุ่มรายอื่นไม่โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้ได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นโดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ศาลทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวด้วย
คำขอรับชำระหนี้ของสมาชิกกลุ่มรายใด ถ้ามีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ยกคำขอรับชำระหนี้
(๒) อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
(๓) อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วน
สมาชิกกลุ่มที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และไม่มีผู้โต้แย้งตามวรรคหนึ่ง สมาชิกกลุ่มที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และมีผู้โต้แย้งตามวรรคสอง หรือผู้โต้แย้ง อาจยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำสั่งของศาลตามวรรคสามให้อุทธรณ์และฎีกาได้ภายใต้บทบัญญัติในภาค ๓ อุทธรณ์และฎีกา
มาตรา ๒๒๒/๔๓๙ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ให้ทนายความฝ่ายโจทก์ในคดีแบบกลุ่มมีอำนาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เฉลี่ยทรัพย์แก่ทนายความฝ่ายโจทก์ โจทก์ และสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๓๒๖ ตามจำนวนที่มีสิทธิได้รับ๑๐
ในกรณีที่จำนวนเงินที่สมาชิกกลุ่มได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๒๒๒/๔๒ ยังไม่เป็นที่ยุติ ให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามวรรคหนึ่งรอการมีคำสั่งให้เฉลี่ยทรัพย์ไว้ก่อน และเมื่อได้ข้อยุติในจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว ให้ทนายความฝ่ายโจทก์แจ้งให้ศาลนั้นทราบ
เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เฉลี่ยทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนั้นส่งเงินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแบบกลุ่มเพื่อจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามมาตรา ๒๒๒/๔๔
มาตรา ๒๒๒/๔๔๑๑ เมื่อจำเลยนำเงินหรือทรัพย์สินมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเมื่อได้ขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินของจำเลย หรือเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รวบรวมทรัพย์สินอื่นใดของจำเลยเสร็จ และได้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตามลำดับ ดังนี้
(๑)๑๒ ผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนตามมาตรา ๓๒๒ และมาตรา ๓๒๔
(๒) เงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ตามมาตรา ๒๒๒/๓๗
(๓) ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์
(๔)๑๓ โจทก์ สมาชิกกลุ่ม และเจ้าหนี้อื่นที่มีสิทธิได้รับเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา ๓๒๖
๑ มาตรา ๒๒๒/๓๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒ มาตรา ๒๒๒/๓๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๓ มาตรา ๒๒๒/๓๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๔ มาตรา ๒๒๒/๓๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๕ มาตรา ๒๒๒/๓๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๖ มาตรา ๒๒๒/๔๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๗ มาตรา ๒๒๒/๔๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๘ มาตรา ๒๒๒/๔๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๙ มาตรา ๒๒๒/๔๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๐ มาตรา ๒๒๒/๔๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๑ มาตรา ๒๒๒/๔๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๒ มาตรา ๒๒๒/๔๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๓ มาตรา ๒๒๒/๔๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
ส่วนที่ ๕
อุทธรณ์และฎีกา
-------------------------
มาตรา ๒๒๒/๔๕๑ ให้คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โดยไม่นำข้อจำกัดสิทธิเรื่องทุนทรัพย์ของการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงมาใช้บังคับ
มาตรา ๒๒๒/๔๖๒ สมาชิกกลุ่มไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ยกเว้นในกรณีตามมาตรา ๒๒๒/๔๒
มาตรา ๒๒๒/๔๗๓ ในกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลเฉพาะในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่ไม่ต้องนำเงินมาชำระหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลสำหรับเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์
มาตรา ๒๒๒/๔๘๔ คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกาส่งมาให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา หากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณีพิจารณาเห็นว่าอุทธรณ์หรือฎีกานั้นต้องห้ามอุทธรณ์หรือห้ามฎีกา ให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกา โดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่อุทธรณ์หรือฎีกา แต่ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดจะรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือห้ามฎีกาดังกล่าวนั้นก็ได้
๑ มาตรา ๒๒๒/๔๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๒ มาตรา ๒๒๒/๔๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๓ มาตรา ๒๒๒/๔๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๔ มาตรา ๒๒๒/๔๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
ส่วนที่ ๖
ค่าธรรมเนียม
-------------------------
มาตรา ๒๒๒/๔๙๑ ให้คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราดังต่อไปนี้
(๑) ค่ายื่นคำขอรับชำระหนี้สองร้อยบาท แต่การขอรับชำระหนี้ที่ไม่เกินสองหมื่นบาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
(๒) ค่าคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลในเรื่องการขอรับชำระหนี้เรื่องละสองร้อยบาท
(๓) ค่าขึ้นศาลในกรณีที่มีการอุทธรณ์เรื่องการขอรับชำระหนี้ หรือการอุทธรณ์เรื่องเงินรางวัลของทนายความ เรื่องละสองร้อยบาท
(๔) ค่าธรรมเนียมอื่นนอกจาก (๑) (๒) และ (๓) ให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามตารางท้ายประมวลกฎหมายนี้
๑ มาตรา ๒๒๒/๔๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘