My Template

หมวด ๒ ตุลาการศาลปกครอง (มาตรา ๑๑/๑ - ๓๔/๑)

 

หมวด ๒
ตุลาการศาลปกครอง

-------------------------

               มาตรา ๑๑/๑  ข้าราชการศาลปกครอง มีดังนี้
               (๑) ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง คือ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดตามมาตรา ๑๒ ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นตามมาตรา ๑๗ และตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้นซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๙
               (๒) ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง คือ ข้าราชการในสำนักงานศาลปกครองซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๗๘ หรือมาตรา ๗๘/๑ หรือได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๘๗

               มาตรา ๑๒  ในศาลปกครองสูงสุด ให้มีตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง ดังต่อไปนี้
              
(๑) ประธานศาลปกครองสูงสุด
              
(๒) รองประธานศาลปกครองสูงสุด
              
(๓) ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
              
(๔) ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
              
(๕) ตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ศป. ประกาศกำหนด
               ทั้งนี้ ตามจำนวนที่ ก.ศป. กำหนด
              
การกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง (๕) ให้ ก.ศป. กำหนดว่าจะให้เทียบเท่ากับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง (๒) (๓) หรือ (๔) ไว้ในประกาศดังกล่าวด้วย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

               มาตรา ๑๓  ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุดต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
              
(๑) มีสัญชาติไทย
              
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี
              
(๓) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ศป. กำหนด และ
              
(๔) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                    
(ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการร่างกฎหมาย กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หรือกรรมการกฤษฎีกา
                    
(ข) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
                    
(ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือเทียบเท่าหรือตุลาการพระธรรมนูญศาลทหารสูงสุด
                    
(ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า
                    
(จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าหรือตำแหน่งอื่นในหน่วยงานของรัฐที่เทียบเท่าตามที่ ก.ศป. ประกาศกำหนด
                     (ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสน
ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์หรือศาสตราจารย์พิเศษ
                    
(ช) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความไม่น้อยกว่ายี่สิบปี และมีประสบการณ์ในคดีปกครองตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ศป. ประกาศกำหนด

               มาตรา ๑๔  ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามในขณะดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
              
(๑) เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
              
(๒) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด
              
(๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
              
(๔) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ
              
(๕) เป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.ศป.
              
(๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษา หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายกันในห้างหุ้นส่วนบริษัท
              
(๗) เป็นทนายความหรือประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใดๆ อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนด

               มาตรา ๑๕  การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุด ก.ศป. อาจดำเนินการได้โดยวิธีการ ดังต่อไปนี้
              
(๑) พิจารณาเลื่อนตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น โดยคำนึงถึงหลักอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความเหมาะสม ประวัติและผลงานการปฏิบัติราชการ
               (๒) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองในขณะนั้น โดยมีคุณสมบัติ
ตามมาตรา ๑๓ และมีความเหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด
              
การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงสัดส่วนของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง (๒) โดยให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมด
               ให้ ก.ศป. เสนอรายชื่อผู้ได้รับการเลื่อนตามวรรคหนึ่ง (๑) หรือได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง (๒)
ต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อดังกล่าวเสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
              
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

               มาตรา ๑๕/๑  ให้ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคนหนึ่งเป็นประธานศาลปกครองสูงสุด แล้วเสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีนำเสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอชื่อ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
               การแต่งตั้งและการเลื่อนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดให้ดำรงตำแหน่งรองประธานศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกแล้วเสนอรายชื่อต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
              
วิธีการคัดเลือกประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

               มาตรา ๑๕/๒  ประธานศาลปกครองสูงสุดมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี นับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
              
ในกรณีที่ประธานศาลปกครองสูงสุดดำรงตำแหน่งครบวาระ และยังไม่พ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลปกครองตามมาตรา ๒๑ (๓) ให้แต่งตั้งผู้นั้นดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดในตำแหน่งอื่นตามที่ ก.ศป. กำหนด โดยให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเดิม
              
ในกรณีที่ประธานศาลปกครองสูงสุดลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระตามวรรคหนึ่ง และยังไม่พ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลปกครองตามมาตรา ๒๑ (๓) ก.ศป. อาจแต่งตั้งผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดในตำแหน่งอื่น โดยให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราที่ ก.ศป. กำหนดก็ได้

               าตรา ๑๖  ผู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ ต้องลาออกจากการที่เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการใด ๆ อันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้วต่อนายกรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ

               มาตรา ๑๗  ในศาลปกครองชั้นต้นแต่ละศาล ให้มีตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง ดังต่อไปนี้
              
(๑) อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น
              
(๒) รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น
              
(๓) ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
              
(๔) ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น
              
(๕) ตุลาการศาลปกครองชั้นต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ศป. ประกาศกำหนด
               ทั้งนี้ ตามจำนวนที่ ก.ศป. กำหนด
              
การกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง (๕) ให้ ก.ศป. กำหนดว่าจะให้เทียบเท่ากับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งไว้ในประกาศดังกล่าวด้วย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

               มาตรา ๑๘  ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
              
(๑) มีสัญชาติไทย
               (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
              
(๓) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ศป. กำหนด และ
              
(๔) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                    
(ก) (ยกเลิก)
                    
(ข) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่าสามปีในตำแหน่งพนักงานคดีปกครองในระดับที่ ก.ศป. กำหนด
                    
(ค) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่าสามปีในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือเทียบเท่า ซึ่งได้รับเงินเดือนในชั้น ๓ หรือตุลาการพระธรรมนูญศาลทหารกลาง
                    
(ง) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่าสามปีในตำแหน่งอัยการจังหวัดหรือเทียบเท่า
                    
(จ) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่าสามปีในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือน ระดับ ๘ หรือข้าราชการพลเรือนประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ประเภทอำนวยการ หรือประเภทบริหาร หรือปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสามปีในตำแหน่งที่เทียบเท่าตามที่ ก.ศป. ประกาศกำหนด ในหน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
                    
(ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์พิเศษไม่น้อยกว่าสามปี
                    
(ช)๑๐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกด้านนิติศาสตร์สาขากฎหมายมหาชน และรับราชการในหน่วยงานของรัฐหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือไม่น้อยกว่าหกปีนับแต่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
                    
(ซ) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความไม่น้อยกว่าสิบสองปี และมีประสบการณ์ในคดีปกครองตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ศป. ประกาศกำหนด
              
ให้นำความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับแก่ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นโดยอนุโลม

               มาตรา ๑๙๑๑  ให้ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ และมีความเหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้น โดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือก ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
               การฝึกอบรมและการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้นให้เป็นไปตามระเบียบ
ที่ ก.ศป. กำหนด
               ให้ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้นซึ่งผ่านการฝึกอบรม
ตามหลักสูตรที่ ก.ศป. กำหนด และผลการฝึกอบรมเป็นไปตามมาตรฐานของ ก.ศป. ว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นตุลาการศาลปกครอง เพื่อแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองชั้นต้น แล้วเสนอรายชื่อต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
              
ตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้นผู้ใดไม่เหมาะสมที่จะเป็นตุลาการศาลปกครองชั้นต้น หรือผลการฝึกอบรมไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ ก.ศป. ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.ศป. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ หรือดำเนินการเพื่อให้มีการโอนไปเป็นข้าราชการฝ่ายศาลปกครองได้
              
ให้นำความในมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๒๖ มาใช้บังคับกับตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้นโดยอนุโลม

               มาตรา ๑๙/๑๑๒  การย้ายและการเลื่อนตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น และตุลาการศาลปกครองชั้นต้น หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือก แล้วเสนอรายชื่อต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
              
วิธีการคัดเลือกอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น และตุลาการศาลปกครองชั้นต้น หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

               าตรา ๒๐  ก่อนเข้ารับหน้าที่ตุลาการศาลปกครองครั้งแรก ตุลาการศาลปกครองต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
              
ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ

               มาตรา ๒๑  ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
              
(๑) ตาย
              
(๒) ลาออก
              
(๓) สิ้นปีงบประมาณที่ตุลาการศาลปกครองผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่จะผ่านการประเมินสมรรถภาพให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามมาตรา ๓๑
              
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ หรือมาตรา๑๘
              
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
              
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
              
(๗) เป็นโรคหรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นตุลาการศาลปกครองตามที่ระบุไว้ในประกาศที่ ก.ศป. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
              
(๘) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๒
              
(๙) ถูกไล่ออกตามมาตรา ๒๓
               (๑๐)๑๓ โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายศาลปกครองหรือข้าราชการฝ่ายอื่น
              
การพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่การพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง (๑) (๓) (๘) และ (๙) ให้นำความ
กราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ๑๔

               มาตรา ๒๒๑๕  ตุลาการศาลปกครองต้องประพฤติตนตามวินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครองตามที่ ก.ศป. กำหนด
              
ก.ศป. อาจมีมติให้ตุลาการศาลปกครองผู้ใดออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ได้ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้ทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
               (๑) ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องอย่างร้ายแรงหรือประพฤติตนไม่สมควรตามที่กำหนดในวินัย
แห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง
              
(๒) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ
               (๓) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
              
ในกรณีที่ ก.ศป. มีมติให้ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ด้วย

               มาตรา ๒๓  ก.ศป. อาจมีมติไล่ตุลาการศาลปกครองออกได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
              
(๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
              
(๒) กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในวินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง
              
(๓) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

               มาตรา ๒๓/๑๑๖  ในกรณีที่ข้าราชการตุลาการศาลปกครองกระทำผิดวินัยไม่ถึงขั้นที่จะต้องให้ออกหรือไล่ออก ก.ศป. อาจมีมติให้ลงโทษงดเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนเงินเดือนเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานีจะสั่งลงโทษเพียงภาคทัณฑ์ และจะให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนด้วยก็ได้
              
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน วิธีการสอบสวน และสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

               มาตรา ๒๔  ในการพิจารณาให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งโดยถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๑) หรือ (๒) หรือตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๔) หรือ (๗) หรือโดยถูกไล่ออกตามมาตรา ๒๓ (๑) หรือ (๒) ให้ ก.ศป. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ประกอบด้วย ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดหรือตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นจำนวนสี่คน และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือรองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมอบหมายจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการเพื่อทำการสอบสวน๑๗
              
ในการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจเรียกให้หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลใดให้ข้อเท็จจริง ให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนได้
              
ในระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ถ้า ก.ศป. เห็นว่าการให้ผู้ถูกสอบสวนหรือพิจารณาปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการจะมีมติให้พักราชการก็ได้
              
การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เมื่อสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกให้พักราชการมิได้กระทำการตามที่ถูกสอบสวนหรือพิจารณา ก็ให้ผู้นั้นคงอยู่ในราชการตามเดิม
              
วิธีการสอบสวนและสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

               มาตรา ๒๔/๑๑๘  ข้าราชการตุลาการศาลปกครองซึ่งมาจากข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายอื่น หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ให้ ก.ศป. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นตามบทบัญญัติเกี่ยวกับวินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครองโดยอนุโลม แต่ถ้าเรื่องอยู่ระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนทางวินัยก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่กระทำความผิดจนแล้วเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ ก.ศป. พิจารณาดำเนินการทางวินัยต่อไปตามบทบัญญัติเกี่ยวกับวินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครองโดยอนุโลม และในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษทางวินัย ให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามบทบัญญัติเกี่ยวกับวินัยของข้าราชการฝ่ายศาลปกครองกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอื่น หรือกฎหมายเกี่ยวกับวินัยของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่กระทำความผิดนั้น แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม

               มาตรา ๒๕๑๙  ตุลาการศาลปกครองผู้ใดพ้นจากตำแหน่งไปโดยมิได้มีความผิดและมิใช่เป็นการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือ (๙) ก.ศป. อาจพิจารณาคัดเลือกผู้นั้นให้กลับเข้ารับราชการเป็นตุลาการศาลปกครองในตำแหน่งไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่าก็ได้ ถ้าผู้นั้นมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี และยังมีอายุไม่ครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันสิ้นปีงบประมาณนั้น หรือยังมีอายุไม่ครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ในวันสิ้นปีงบประมาณนั้นในกรณีที่เป็นผู้ซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกให้ไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ หากผู้นั้นมีอายุครบเกณฑ์ที่จะต้องประเมินสมรรถภาพตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เคยผ่านการประเมินสมรรถภาพ ให้จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพได้ แม้จะมีอายุล่วงเลยการประเมินสมรรถภาพตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง แล้วก็ตาม
              
ตุลาการศาลปกครองซึ่งโอนไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ถ้าต้องโอนกลับเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองเพราะเหตุที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๗๘/๑ วรรคสอง หรือยื่นความประสงค์ขอโอนกลับก่อนครบวาระ และผู้นั้นมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๘วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ให้ ก.ศป. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งในลำดับอาวุโสที่เคยครองโดยให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นในชั้นเดียวกับตุลาการศาลปกครองที่อยู่ในลำดับอาวุโสเท่ากันในขณะที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง
               ในกรณีที่ผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง หรือผู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบ
ให้โอนกลับเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองตามวรรคสอง มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ ให้นำความในมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๘ วรรคสอง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
              
ให้นำความในมาตรา ๑๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๑๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับแก่การคัดเลือกให้กลับเข้ารับราชการเป็นตุลาการศาลปกครองตามวรรคหนึ่ง หรือการโอนกลับเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองตามวรรคสอง โดยอนุโลม

               มาตรา ๒๖  ตุลาการศาลปกครองผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออก เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง
               ในกรณีที่ตุลาการศาลปกครองลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ
ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นลาออก
              
นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าประธานศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าจำเป็น เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือน นับแต่วันที่ขอลาออกก็ได้

               มาตรา ๒๖/๑๒๐  การโอนข้าราชการตุลาการศาลปกครองผู้ใดไปเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองหรือข้าราชการฝ่ายอื่น ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการตุลาการศาลปกครองผู้นั้นยินยอมและได้รับความเห็นชอบจาก ก.ศป.

               มาตรา ๒๗  การย้ายตุลาการศาลปกครองผู้ใดไปดำรงตำแหน่งอื่นในศาลปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากตุลาการศาลปกครองผู้นั้น และให้ประธานศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจแต่งตั้งได้ โดยความเห็นชอบของ ก.ศป. ตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
              
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น หรือเป็นการย้าย
ประจำปี หรือเป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญาที่ศาลมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว

               มาตรา ๒๘  ประธานศาลปกครองสูงสุดต้องรับผิดชอบให้งานของศาลปกครองเป็นไปโดยเรียบร้อยตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด หรือระเบียบที่ ก.บ.ศป. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยมีรองประธานศาลปกครองสูงสุดช่วยปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย๒๑
               อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นต้องรับผิดชอบให้งานของศาลนั้นเป็นไปโดยเรียบร้อยตามระเบียบที่ ก.ศป.
กำหนด โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด หรือระเบียบที่ ก.บ.ศป. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยมีรองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นช่วยปฏิบัติหน้าที่ตามที่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นมอบหมาย๒๒
               ในกรณีที่ตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดหรืออธิบดีศาลปกครองชั้นต้นว่างลงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานศาลปกครองสูงสุดหรือรองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นหรือตุลาการศาลปกครองอื่น แล้วแต่กรณี ปฏิบัติหน้าที่แทนตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
              
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

               มาตรา ๒๙  การเปลี่ยนแปลงตุลาการศาลปกครองในองค์คณะหนึ่งองค์คณะใดเนื่องจากตุลาการศาลปกครองผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง ถูกพักราชการ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น เจ็บป่วย หรือมีเหตุจำเป็นอื่นทำให้ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกำหนด
              
ตุลาการศาลปกครองซึ่งเข้ามาแทนที่ตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาได้

               มาตรา ๓๐๒๓  อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้๒๔
              
ตุลาการศาลปกครองให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
               (๑) ในศาลปกครองสูงสุด
                    
(ก) ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๔
                    
(ข) รองประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๓ ขั้นสูงสุด
              
(๒) ในศาลปกครองชั้นต้น
                    
(ก) อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๓
ขั้นสูงสุด
                     (
ข) รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นและตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในชั้น ๒ และเมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบเจ็ดปีแล้วให้
เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น ๓
                    
(ค) ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๑ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในชั้น ๑ เมื่ออยู่ในชั้น ๑ มาครบหนึ่งปีแล้วให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น ๒ และเมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบเจ็ดปีแล้วให้เลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นชั้น ๓๒๕
              
ให้ตุลาการศาลปกครองได้รับเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
              
ตุลาการศาลปกครองให้ได้รับค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นในกรณีเดินทางไปราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
               เพื่อประโยชน์ในการรับบำเหน็จบำนาญ ให้ตุลาการศาลปกครองเป็นข้าราชการตาม
กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในการนี้ ให้สำนักงานศาลปกครองเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของตุลาการศาลปกครอง
              
ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของตุลาการศาลปกครองให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราดังกล่าว หากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน๒๖
              
ตุลาการศาลปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคสอง (๑) (ข) หรือ (๒) (ก) (ข) หรือ (ค) แล้ว ให้ได้รับเงินเดือน การเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รวมทั้งประโยชน์ตอบแทนอื่นตามตำแหน่งนั้น๒๗

               มาตรา ๓๐/๑๒๘  ตุลาการศาลปกครองอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.บ.ศป. กำหนด๒๙
               ในกรณีที่
มีเหตุจะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

               มาตรา ๓๐/๒๓๐  ตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๑ และให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเช่นเดียวกับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
              
ให้นำความในมาตรา ๓๐ วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับกับตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้นโดยอนุโลม

               มาตรา ๓๑  ให้ ก.ศป. จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลปกครองที่จะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณถัดไป
              
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ศป. กำหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
              
ตุลาการศาลปกครองซึ่งผ่านการประเมินสมรรถภาพตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

               มาตรา ๓๒  ให้กรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครอง เพื่อประโยชน์ในการรับบำเหน็จบำนาญ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้นั้นในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเวลาราชการของตุลาการศาลปกครองผู้นั้น และให้นำกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม

               มาตรา ๓๓๓๑  เครื่องแบบข้าราชการตุลาการศาลปกครองและระเบียบการแต่งกายให้เป็นไปตามที่ ก.บ.ศป. ประกาศกำหนด

               มาตรา ๓๔  ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ตุลาการศาลปกครองเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญา

               มาตรา ๓๔/๑๓๒  การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตุลาการศาลปกครองได้กระทำโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง


               มาตรา ๑๑/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๔
               มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               มาตรา ๑๕/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               มาตรา ๑๕/๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๔
               มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๔) (ก) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๔) (ค) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๔) (จ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๐ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๔) (ช) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๑ มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๒ มาตรา ๑๙/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๓ มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑๐) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๔ มาตรา ๒๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๑๕ มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๑๖ มาตรา ๒๓/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๗ มาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๑๘ มาตรา ๒๔/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๑๙ มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๒๐ มาตรา ๒๖/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๒๑ มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๒๒ มาตรา ๒๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๒๓ มาตรา ๓๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
               ๒๔ มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๒๕ มาตรา ๓๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๒๖ มาตรา ๓๐ วรรคหก เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
               ๒๗ มาตรา ๓๐ วรรคเจ็ด เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๔
               ๒๘ มาตรา ๓๐/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
               ๒๙ มาตรา ๓๐/๑ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๓๐ มาตรา ๓๐/๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๓๑ มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
               ๓๒ มาตรา ๓๔/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑