ส่วนที่ ๖
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและการคำนวณภาษี
-------------------------
มาตรา ๘๒๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามบทบัญญัติในหมวดนี้
(๑) ผู้ประกอบการ
(๒) ผู้นำเข้า
มาตรา ๘๒/๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
(๑) ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ได้แก่ ตัวแทนดังกล่าว
(๒) ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ ๐ ตามมาตรา ๘๐/๑ (๕) ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ได้แก่ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว
(๓) ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๑ (๒) (ค) ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ได้แก่
(ก) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
(ข) ผู้รับโอนสินค้า ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว
(๔) ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน ได้แก่ ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่
(๕) ในกรณีโอนกิจการ ได้แก่ ผู้โอนและผู้รับโอน
มาตรา ๘๒/๒๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึง ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับบุคคลตามมาตรา ๘๒
มาตรา ๘๒/๓๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒/๗ มาตรา ๘๒/๘ และมาตรา ๘๒/๑๖ ให้ผู้ประอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ให้ผู้ประกอบการชำระภาษีเท่ากับส่วนต่างนั้น
หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ให้เป็นเครดิตภาษีและให้ผู้ประกอบการนั้นมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามส่วน ๘
ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่งเพราะมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนด ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามปีนับจากวันที่ได้มีการออกใบกำกับภาษี
มาตรา ๘๒/๔๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๓/๕ มาตรา ๘๓/๖ และมาตรา ๘๓/๗ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น โดยคำนวณจากฐานภาษีตามส่วน ๓ และอัตราภาษีตามส่วน ๔
บทบัญญัติมาตรานี้มิได้เป็นการห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะเสนอหรือแสดงราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้แจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทราบด้วยหรือไม่ก็ตาม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามมาตรานี้ ย่อมเป็นภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บตามมาตรานี้ เนื่องจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน ย่อมเป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้น
มาตรา ๘๒/๕๖ ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา ๘๒/๓
(๑) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๒) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๓) ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๔) ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๕) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามส่วน ๑๐
(๖) ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
มาตรา ๘๒/๖๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภท ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
มาตรา ๘๒/๗๘ ในการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา ๗๙/๕ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ โดยให้คำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา ๗๙/๕ (๒) ของส่วน ๓ และอัตราภาษีตามส่วน ๔ สำหรับการขายทุกทอด
มาตรา ๘๒/๘๙ ในการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันตามมาตรา ๗๙/๖ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ โดยให้คำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา ๗๙/๖ (๒) (ก) หรือ (ข) ของส่วน ๓ และอัตราภาษีตามส่วน ๔ สำหรับการขายทุกทอด
มาตรา ๘๒/๙๑๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการและได้นำภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แล้ว ต่อมาหากมีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวนำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นนั้นมารวมในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ถือเป็นภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา ๘๖/๙
(๑) มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าเกินกว่าจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(๒) มีการเพิ่มราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบเพิ่มหนี้ นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวมาหักออกในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ถือเป็นภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบเพิ่มหนี้นั้น
มาตรา ๘๒/๑๐๑๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการและได้นำภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แล้ว ต่อมาหากมีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวนำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ตามมาตรา ๘๖/๑๐
(๑) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(๒) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากการให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(๓) ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(๔) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากเหตุและตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบลดหนี้ นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น
มาตรา ๘๒/๑๑๑๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการและได้นำภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจำหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจำนวนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจำหน่ายหนี้สูญ
การคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
หนี้สูญรายใดที่ได้จำหน่ายไปตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับชำระในภายหลัง ให้นำภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญตามวรรคหนึ่งที่ได้รับชำระดังกล่าวมารวมเป็นภาษีขายในเดือนภาษีที่ได้รับชำระ
มาตรา ๘๒/๑๒๑๓ ในการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ ๐ ตามมาตรา ๘๐/๑ (๕) และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑ (๒) เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นโดยให้คำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา ๗๙/๓ (๔) ของส่วน ๓ และอัตราภาษีตามมาตรา ๘๐
มาตรา ๘๒/๑๓๑๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา ๘๕/๓ หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นโดยให้คำนวณจากฐานภาษีตามส่วน ๓ และอัตราภาษีตามมาตรา ๘๐ หรือมาตรา ๘๐/๑ แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรโดยผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคํานวณจากภาษีขาย โดยไม่ให้หักภาษีซื้อ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชําระภาษีตามมาตรา ๘๓๑๕
ในกรณีประกอบการตามวรรคสอง ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม โดยมีกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่การนําเสนอการให้บริการ การชําระค่าบริการ การส่งมอบบริการ และการอื่นใดตามที่อธิบดีประกาศกําหนด ให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกรายรวมกัน โดยไม่ต้องแยกรายละเอียดการให้บริการสําหรับผู้ประกอบการแต่ละราย และให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับผู้ประกอบการ๑๖
มาตรา ๘๒/๑๔๑๗ ให้ผู้นำเข้าเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีสำหรับสินค้านำเข้าเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น โดยให้คำนวณจากฐานภาษีตามส่วน ๓ และอัตราภาษีตามมาตรา ๘๐
มาตรา ๘๒/๑๕๑๘ ในการนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้รับโอนสินค้าที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑ (๓) เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นโดยให้คำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา ๗๙/๒ (๒) ของส่วน ๓ และอัตราภาษีตามมาตรา ๘๐
มาตรา ๘๒/๑๖๑๙ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบกิจการเฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการในราชอาณาจักร และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามมาตรา ๘๑/๑ แต่ไม่เกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากฐานภาษีในเดือนภาษีตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๐/๒
ในการคำนวณฐานภาษีตามวรรคหนึ่งมิให้นำมาตรา ๗๙ วรรคสาม (๓) มาใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่งซึ่งได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการตามมาตรา ๘๒/๔ หรือออกใบกำกับภาษี
มาตรา ๘๒/๑๗๒๐ บทบัญญัติมาตรา ๘๒/๑๖ มิได้เป็นการห้ามผู้ประกอบการที่จะใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนดในมาตรา ๘๒/๓ แต่เมื่อใช้สิทธิดังกล่าวแล้วจะขอให้นำมาตรา ๘๒/๑๖ มาใช้บังคับอีกไม่ได้
มาตรา ๘๒/๑๘๒๑ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑๖ แจ้งให้อธิบดีทราบในกรณีและภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ ให้แจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(๒) สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต่อมามีมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๒/๑๖ ให้แจ้งต่ออธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ และไม่มีสิทธิคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑๖ อีกต่อไป
ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคสอง ห้ามมิให้นำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บในขณะที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๑๖ มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓
๑ มาตรา ๘๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๒ มาตรา ๘๒/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๓ มาตรา ๘๒/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๔ มาตรา ๘๒/๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๕ มาตรา ๘๒/๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๖ มาตรา ๘๒/๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๗ มาตรา ๘๒/๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๘ มาตรา ๘๒/๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๙ มาตรา ๘๒/๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๐ มาตรา ๘๒/๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๑ มาตรา ๘๒/๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๒ มาตรา ๘๒/๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๓ มาตรา ๘๒/๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๔ มาตรา ๘๒/๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๕ มาตรา ๘๒/๑๓ วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓) พ.ศ. ๒๕๖๔
๑๖ มาตรา ๘๒/๑๓ วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓) พ.ศ. ๒๕๖๔
๑๗ มาตรา ๘๒/๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๘ มาตรา ๘๒/๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๙ มาตรา ๘๒/๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๒๐ มาตรา ๘๒/๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
๒๑ มาตรา ๘๒/๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔