My Template

หมวด ๕ ภาษีธุรกิจเฉพาะ (มาตรา ๙๑ - ๙๑/๒๑)

 

หมวด ๕
ภาษีธุรกิจเฉพาะ

-------------------------

               มาตรา ๙๑  ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีอากรประเมิน

               มาตรา ๙๑/๑  ในหมวดนี้
              
(๑) รายรับหมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ
              
(๒) มูลค่าหมายความว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ของกิจการ ของค่าตอบแทน หรือของประโยชน์ใด ๆ
              
(๓) ราคาตลาดหมายความว่า ราคาที่ซื้อขายกันหรือที่คิดค่าบริการกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง
              
ในกรณีที่ราคาตลาดมีหลายราคาหรือไม่อาจทราบราคาตลาดได้แน่นอนให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อให้ได้ราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าหรือบริการได้
              
(๔) ขายหมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
              
ให้นำบทนิยามคำว่า บุคคล” “บุคคลธรรมดา” “คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” “นิติบุคคล” “ตัวแทน” “สถานประกอบการและ เดือนภาษีตามมาตรา ๗๗/๑ มาใช้บังคับ

               มาตรา ๙๑/๒  ภายใต้บังคับมาตรา ๙๑/๔ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้
              
(๑) การธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ
              
(๒) การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
               (๓) การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
              
(๔) การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
              
(๕) การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
               (๖) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราช
กฤษฎีกา
              
(๗) การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
              
(๘) การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
              
ในกรณีที่บุคคลอยู่นอกราชอาณาจักรประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการ
หรือตัวแทนของตนที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ถือว่าประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามมาตรานี้
              
ในกรณีที่มีปัญหาว่ากิจการใดเป็นกิจการตาม (๕) หรือไม่ อธิบดีจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขต และเงื่อนไขของการประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับตามมาตรานี้ก็ได้ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรในราชกิจจานุเบกษา

               มาตรา ๙๑/๓  ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการดังต่อไปนี้
              
(๑) กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
              
(๒) กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
              
(๓) กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
              
(๔) กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
              
(๕) กิจการของการเคหะแห่งชาติเฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
              
(๖) กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
              
(๗) กิจการอื่นตามมาตรา ๙๑/๒ ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

               มาตรา ๙๑/๔  กิจการเฉพาะอย่างของกิจการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๑/๒ ดังต่อไปนี้ ให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด ๔
               (๑) กิจการเฉพาะอย่างที่มิใช่กิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา ๙๑/๒
              
(๒) กิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา ๙๑/๒ ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
              
ในกรณีที่มีปัญหาว่ากิจการใดเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา ๙๑/๒ หรือไม่ อธิบดีจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขต และเงื่อนไขของการประกอบกิจการก็ได้ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้วให้ประกาศคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรในราชกิจจานุเบกษา

               มาตรา ๙๑/๕  ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ได้แก่รายรับดังต่อไปนี้ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับหรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ
              
(๑) สำหรับกิจการธนาคารตามมาตรา ๙๑/๒ (๑) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ
                    
(ก) ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายหรือที่ได้จากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ และ
                     (ข) กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ หรือการส่งเงินไปต่างประเทศ
              
(๒) สำหรับกิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา ๙๑/๒ (๒) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ
                    
(ก) รายรับตาม (๑) (ก) และ
                    
(ข) รายรับตาม (๑) (ข)
              
(๓) สำหรับกิจการรับประกันชีวิตตามมาตรา ๙๑/๒ (๓) รายรับจากการประกอบกิจการ ได้แก่ ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ
              
(๔) สำหรับกิจการโรงรับจำนำตามมาตรา ๙๑/๒ (๔) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ
                    
(ก) ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และ
                    
(ข) เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายของที่จำนำหลุดเป็นสิทธิ
              
(๕) สำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา ๙๑/๒ (๕) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ
                    
(ก) รายรับตาม (๑) (ก) และ
                    
(ข) รายรับตาม (๑) (ข)
              
(๖) สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา ๙๑/๒ (๖) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
               (๗) สำหรับกิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา ๙๑/๒ (๗) รายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อน
หักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
              
(๘) สำหรับกิจการอื่นตามมาตรา ๙๑/๒ (๘) รายรับจากการประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

               มาตรา ๙๑/๖๑๐  อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะมีดังต่อไปนี้
              
(๑) ร้อยละ ๐.๑ สำหรับรายรับตามมาตรา ๙๑/๕ (๗)
              
(๒) ร้อยละ ๒.๕ สำหรับรายรับตามมาตรา ๙๑/๕ (๓) (ก) และมาตรา ๙๑/๕ (๔)
              
(๓) ร้อยละ ๓.๐ สำหรับรายรับตามมาตรา ๙๑/๕ นอกจากกรณีตาม (๑) และ (๒)

               มาตรา ๙๑/๗๑๑  ให้บุคคลซึ่งประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับของหมวดนี้มีหน้าที่เสียภาษีตามบทบัญญัติในหมวดนี้
              
ในกรณีผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักรให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีร่วมกับบุคคลตามวรรคหนึ่ง

               มาตรา ๙๑/๘๑๒  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา ๙๑/๕ ในเดือนภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๙๑/๖ แต่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ในส่วน ๒ หมวด ๒ ลักษณะ ๒
               การคำนวณรายรับตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติ
ทางบัญชี และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับเมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้วให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้เปลี่ยนแปลงได้
              
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา ๙๑/๒ (๖) และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีกรณีดังกล่าวเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา ๙๑/๕ (๖) ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๑/๖ รวมทั้งมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ในส่วน ๒ หมวด ๒ ลักษณะ ๒๑๓

               มาตรา ๙๑/๙๑๔  ในกรณีกิจการขายหลักทรัพย์ตามมาตรา ๙๑/๒ (๗) ให้สมาชิกที่เป็นตัวแทนของผู้ขายหักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขาย และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตามมาตรา ๙๑/๑๐ แทนผู้ขายในนามของตนเอง โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีก และให้ถือว่าสมาชิกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในกรณีนี้ด้วย

               มาตรา ๙๑/๑๐๑๕  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยให้ยื่นเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี ไม่ว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะมีรายรับในเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม
              
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีสำหรับเดือนภาษีใดให้ยื่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
              
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
              
ถ้ามีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีตามวรรคหนึ่งให้แยกยื่นเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะยื่นคำร้องต่ออธิบดีขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมกัน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่แห่งใดแห่งหนึ่งหรือ ณ สถานที่ที่อธิบดีกำหนดตามวรรคสามก็ได้ และเมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นสมควรจะอนุมัติก็ได้
              
ความในวรรคหนึ่งถึงวรรคสี่มิให้ใช้บังคับแก่การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา ๙๑/๒ (๖) และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีกรณีดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามแบบที่อธิบดีกำหนดในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับชำระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น๑๖
              
ในการชำระภาษีตามวรรคห้า ให้กรมที่ดินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อกรมสรรพากรและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว๑๗
              
ภาษีที่ได้ชำระแล้วตามวรรคห้า ให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด๑๘

               มาตรา ๙๑/๑๑๑๙  การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะให้กระทำได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
              
(๑) ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายในสามปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
              
(๒) คำร้องขอคืนภาษีให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมกัน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่แห่งใดแห่งหนึ่งหรือ ณ สถานที่อื่นตามมาตรา ๙๑/๑๐ วรรคสี่ ก็ให้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี ณ ที่แห่งนั้น

               มาตรา ๙๑/๑๒๒๐  บุคคลซึ่งประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา ๙๑/๒ โดยกิจการนั้นไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๙๑/๓ และผู้ประกอบกิจการไม่ได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา ๙๑/๑๓ ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายในสามสิบวันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
              
คำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดและให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
              
ถ้าผู้กระทำกิจการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
              
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ และการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
              
ในกรณีผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร ให้บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักรด้วย

               มาตรา ๙๑/๑๓๒๑  ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
               (๑) ผู้ประกอบกิจการขายหลักทรัพย์ตามมาตรา ๙๑/๒ (๗)
              
(๒) ผู้ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว
              
(๓) ผู้ประกอบกิจการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
              
ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่จะพิจารณากำหนดว่าการ
ประกอบกิจการในลักษณะใดเป็นการประกอบกิจการชั่วคราวตาม (๒)

               มาตรา ๙๑/๑๔๒๒  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษี และรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
              
รายงานที่ต้องจัดทำตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ
               วิธีลงรายการในรายงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดี
กำหนด และการลงรายการในรายงานให้ลงภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีรายรับ ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรสำหรับการประกอบกิจการบางประเภทหรือในกรณีจำเป็นเฉพาะรายอธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้

               มาตรา ๙๑/๑๕๒๓  เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามหมวดนี้ในเมื่อ
              
(๑) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
              
(๒) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป หรือ
               (๓) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนผู้ประกอบกิจการไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมิน
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี

               มาตรา ๙๑/๑๖๒๔  เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา ๙๑/๑๕ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ
              
(๑) จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการตามหลักฐานที่เห็นว่าถูกต้อง เมื่อผู้ประกอบกิจการมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ
              
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการหรือในเอกสารอื่นประกอบแบบแสดงรายการเพื่อให้ถูกต้อง
              
(๓) กำหนดราคาขายสินค้าโดยเทียบเคียงกับราคาขายในวันเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันของสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันตามราคาตลาดที่อาจเทียบเคียงกันได้
              
(๔) กำหนดดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงิน หรือการส่งเงินไปต่างประเทศตามราคาตลาดที่อาจเทียบเคียงได้
               (๕) กำหนดรายรับซึ่งผู้ประกอบกิจการควรได้รับเพราะผู้ประกอบกิจการกับผู้ซื้อมีการควบคุมหรือความสัมพันธ์กันในด้านทุนหรือด้านการจัดการ
              
(๖) กำหนดดอกเบี้ย ราคาทรัพย์สิน หรือค่าบริการตามราคาตลาดในวันให้กู้ยืมเงิน วันที่โอน หรือให้บริการ ในกรณีที่การให้กู้ยืมเงิน การโอนทรัพย์สิน หรือการให้บริการนั้นไม่มีดอกเบี้ย ค่าตอบแทน หรือค่าบริการ หรือมีดอกเบี้ย ค่าตอบแทน หรือค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
              
(๗) กำหนดรายรับโดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบกิจการ หรือสถิติการค้าของผู้ประกอบกิจการเองหรือของผู้ประอบกิจการอื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์อย่างอื่นอันอาจแสดงรายรับได้โดยสมควร
              
(๘) ประเมินภาษีตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้องเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๑/๑๕ (๓) โดยไม่ต้องปฏิบัติตาม (๑) ถึง (๗) ก็ได้

               มาตรา ๙๑/๑๗๒๕  ภาษีตามหมวดนี้ ถ้าในเดือนภาษีใดมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทเป็นอันไม่ต้องเสียสำหรับเดือนภาษีนั้น

               มาตรา ๙๑/๑๘๒๖  บุคคลใดประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา ๙๑/๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              
บุคคลตามมาตรา ๙๑/๑๒ วรรคห้า ละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง

               มาตรา ๙๑/๑๙๒๗  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ใด ไม่จัดทำรายงานตามมาตรา ๙๑/๑๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               มาตรา ๙๑/๒๐๒๘  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ใดจัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามแบบหรือไม่จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ หรือลงรายการในรายงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๙๑/๑๔ วรรคสองหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

               มาตรา ๙๑/๒๑๒๙  ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๔ ดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
              
(๑) ส่วน ๗ การยื่นแบบและการชำระภาษี มาตรา ๘๓/๒ และมาตรา ๘๓/๓
              
(๒) ส่วน ๘ เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา ๘๔/๓
              
(๓) ส่วน ๙ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา ๘๕/๔ มาตรา ๘๕/๕ มาตรา ๘๕/๖ มาตรา ๘๕/๗ มาตรา ๘๕/๘ มาตรา ๘๕/๙ มาตรา ๘๕/๑๒ มาตรา ๘๕/๑๓ มาตรา ๘๕/๑๔
มาตรา ๘๕/๑๕ มาตรา ๘๕/๑๖ มาตรา ๘๕/๑๗ มาตรา ๘๕/๑๘ และมาตรา ๘๕/๑๙
               (๔) ส่วน ๑๑ การจัดทำรายงาน และการเก็บรักษาหลักฐานและเอกสาร มาตรา ๘๗/๓
              
(๕) ส่วน ๑๒ อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน มาตรา ๘๘/๓ มาตรา ๘๘/๔ และมาตรา ๘๘/๕
              
(๖) ส่วน ๑๓ เบี้ยปรับ - เงินเพิ่ม ทุกมาตรา
              
(๗) ส่วน ๑๔ บทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งมาตรา ๙๐/๕


               หมวด ๕ ภาษีธุรกิจเฉพาะ มาตรา ๙๑ ถึงมาตรา ๙๑/๒๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (หมวด ๕ ภาษีป้าย (เดิม) มาตรา ๙๔ ถึงมาตรา ๑๐๒ ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐)
               มาตรา ๙๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               มาตรา ๙๑/๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               มาตรา ๙๑/๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               มาตรา ๙๑/๒ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๓) พ.ศ. ๒๕๔๑
               มาตรา ๙๑/๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               มาตรา ๙๑/๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               มาตรา ๙๑/๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               มาตรา ๙๑/๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๓) พ.ศ. ๒๕๔๑
               ๑๐ มาตรา ๙๑/๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๑๑ มาตรา ๙๑/๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๑๒ มาตรา ๙๑/๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๑๓ มาตรา ๙๑/๘ วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
               ๑๔ มาตรา ๙๑/๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๑๕ มาตรา ๙๑/๑๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๑๖ มาตรา ๙๑/๑๐ วรรคห้า เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
               ๑๗ มาตรา ๙๑/๑๐ วรรคหก เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
               ๑๘ มาตรา ๙๑/๑๐ วรรคเจ็ด เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
               ๑๙ มาตรา ๙๑/๑๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๐ มาตรา ๙๑/๑๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๑ มาตรา ๙๑/๑๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๒ มาตรา ๙๑/๑๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๓ มาตรา ๙๑/๑๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๔ มาตรา ๙๑/๑๖ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๕ มาตรา ๙๑/๑๗ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๖ มาตรา ๙๑/๑๘ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๗ มาตรา ๙๑/๑๙ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๘ มาตรา ๙๑/๒๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
               ๒๙ มาตรา ๙๑/๒๑ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔